โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 22 พฤศจิกายน 2554 14:22 น. |
|
เช่นเดียวกับแนวคิดของเยาวชนโรงเรียนดรุโณทัยพุนพิน อ.พุนพิน จ.สุราษฎรธานี หนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเครือข่ายเชฟรอนพลังใจพลังคน ที่คิดว่าหากลดปริมาณขยะให้ได้มากที่สุด ขยะก็จะไม่ออกมาสร้างปัญหาและมลภาวะให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อม พวกเขาจึงหันไปมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว แล้วพบว่าภายในครัวที่บ้านและโรงเรียน มีขยะอยู่มากมาย โดยเฉพาะขยะเหลือใช้ที่ใครๆ ก็มองข้ามและไม่รู้จะนำไปทำประโยชน์อะไร แต่พวกเขากลับคิดสร้างสรรค์และเฟ้นหาคุณค่าจาก “แผงใส่ไข่” ที่มีอยู่เกือบทุกครัวเรือน นำมาประดิษฐ์เป็นกระถางต้นไม้สวยงาม ใช้งานได้จริง ลดปัญหาขยะเกลื่อนเมือง และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมไปด้วย ด.ญ.พัชรพร อิบราฮิมข่าน หรือน้องฝน นักเรียนชั้น ป.6 เล่าให้ฟังว่า โรงเรียนและชุมชนก็เคยมีประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่มาแล้ว น้ำได้พัดพาขยะจำนวนมากมากองรวมกัน ทำให้นักเรียน ครู และชุมชนมีแนวคิดตรงกันว่าน่าจะช่วยกันจัดการขยะเพื่อลดปริมาณขยะให้ได้มากที่สุด ไม่ให้ออกมาสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้งธนาคารขยะขึ้น และพบว่าหนึ่งในนั้นมีขยะประเภทแผงใส่ไข่ที่มาจากห้องครัวของโรงเรียน จากที่บ้าน และตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะจำพวกนี้หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะสร้างปัญหาจึงคิดว่าน่าจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงลองช่วยกันคิดค้นและสร้างสรรค์นำมาทำเป็นกระถางต้นไม้ ทั้งนี้นอกจากแผงใส่ไข่แล้ว นำเศษกระดาษที่ไม่ใช้แล้วต่างๆ มาทำได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษวาดเขียนหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งนอกจากจะได้นำมาใช้งานแล้ว ยังสามารถขายเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย “ในช่วงที่โรงเรียนมีกิจกรรมวิชาการ หรือวันที่มีตลาดนัดแม่ค้ารุ่นจิ๋ว กระถางต้นไม้รีไซเคิลขายดีมาก เพราะราคาไม่แพงนัก ใบเล็กราคา 10-20 บาท ขนาดกลางราคา 50 บาท และขนาดใหญ่สุดราคา 100 บาท แม้จะนำไปปลูกต้นไม้จริงไม่ได้ เนื่องด้วยทำจากกระดาษ แต่ก็สามารถนำกระถางต้นไม้จริงใส่ลงไปแล้ววางประดับบ้านได้ หรือจะนำมาปักดอกไม้ประดิษฐ์ได้เช่นกัน ซึ่งดอกไม้นั้นก็ทำมาจากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม และสามารถดัดแปลงมาใส่ดินสอ ปากกา วางบนโต๊ะทำงานก็สวยไปอีกแบบ" ด.ญ.พัชรพรกล่าว |
||||
“หลังจากนั้นก็นำไปตากแดดให้แห้ง ใช้เวลา 1-2 วัน จึงนำกระถางออกจากแม่พิมพ์ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของการตกแต่งให้สวยงามโดยใช้สีโปสเตอร์ระบายตามความชอบ ใครมีไอเดีย หรือมีความคิดสร้างสรรค์อะไรก็สามารถวาดระบายสีได้ตามใจชอบ บางกระถางอาจจะสวยและไม่สวยก็ปะปนกันไปตามฝีมือของคนระบายสี ซึ่งก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร เพราะจริงๆแล้วแค่ได้ช่วยลดปริมาณขยะและนำสิ่งของเหลือใช้มาทำประโยชน์ให้ได้มากที่สุดก็เพียงพอแล้ว” ด.ญ.วิชิดาอธิบาย นอกจากนี้ ด.ญ.วิชิดา ยังบอกถึงเคล็ดลับในการทำว่าจะไม่ใช้กาวผสมลงไปในเนื้อกระดาษ เพราะกาวจะมีกลิ่นบูดเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ อีกทั้งการใช้สีโปสเตอร์จะช่วยให้ติดทนนาน และให้สีสันที่สดใส ซึ่งรูปภาพที่วาดลงไปส่วนใหญ่ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ วาดตามที่แต่ละคนชอบ ใช้จินตนาการได้เต็มที่ “หนูคิดว่ากิจกรรมนี้ทำให้เราใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถนำขยะที่ไม่มีค่าแล้ว มาประดิษฐ์เป็นของใช้ที่ขายได้ด้วย และภูมิใจที่ช่วยลดขยะให้น้อยลง เวลาที่อยู่บ้านก็นำความรู้จากที่โรงเรียนไปแยกขยะที่บ้านก่อนทิ้ง พ่อกับแม่ก็ชม และให้การสนับสนุนค่ะ เพราะทำประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อม” ด.ญ.วิชิดา บอกทิ้งท้าย นอกจากกิจกรรมแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่โรงเรียนดรุโณทัยพุนพินแล้ว โครงการโรงเรียนเครือข่ายเชฟรอน พลังใจ พลังคน ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายใน 84 โรงเรียนเครือข่ายทั่วประเทศ ที่รวมพลังในการดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคลที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปีนี้ หากสนใจกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนในโครงการฯ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.84schoolsnetwork.com |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
วันที่: Sat May 10 14:35:36 ICT 2025
|
|
|